Skip links

เกี่ยวกับมูลนิธิฯ

ประวัติความเป็นมาของมูลนิธิฯ


ก่อนที่จะจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิชนเผ่าลุ่มน้ำโขงนั้น  เคยเป็นสำนักงานสาขาเชียงรายขององค์กรเวิร์ด คอนเซิร์น (World concern)ประเทศไทยมาก่อน โดยทำงานเรื่องการช่วยเหลือผู้ติดเชื้อเอดส์และให้ความรู้เรื่องเอดส์  และการพัฒนาชุมชนให้กับกลุ่มชนเผ่าในประเทศไทย และลาว มีสำนักงานตั้งอยู่ที่บริเวณห้าแยกพ่อขุนเม็งรายมหาราช อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย

ต่อมาองค์กร world concern  มีแผนที่จะถอนตัวออกจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้  รวมทั้งประเทศไทยด้วย   ทำให้ทีมงานที่อยู่ในสาขาเชียงรายนำโดย MR. Scott Coats ผู้จัดการสาขาในขณะนั้น  ไม่อยากให้พันธกิจต่างๆที่ทำอยู่ในขณะนั้นต้องยุติลง  ประกอบกับมีหัวใจที่จะรับใช้พี่น้องชนเผ่าอยู่แล้ว  และอยากเห็นคุณภาพชีวิตของคนชนเผ่าได้รับการพัฒนาในทางที่ดีขึ้น  จึงรวมตัวกันจดทะเบียนจัดตั้งเป็นมูลนิธิภายใต้ชื่อ “มูลนธิชนเผ่าลุ่มน้ำโขง”   โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้คือ

  1. เพื่อสนับสนุนและให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษา  การกีฬา  ศิลปะ  และ วิทยาศาสตร์แก่ชนเผ่าในลุ่มน้ำโขง
  2. เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ด้อยโอกาส
  3. เพื่อเสริมสร้างศักยภาพผู้นำท้องถิ่นสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน
  4. ส่งเสริมและพัฒนาเศรษฐกิจระดับชุมชน
  5. ส่งเสริมและสนับสนุนงานด้านสิทธิมนุษยชนและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
  6. ดำเนินการเพื่อสาธารณประโยชน์ร่วมกับองค์กรการกุศลอื่นๆ
  7. ไม่ดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการเมืองแต่ประการใด

ทั้งนี้ได้มีการจดทะเบียนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ในวันที่ 1 ธันวาคม พุทธศักราช 2547

ต่อมาพระเจ้าอวยพรให้มูลนิธิชนเผ่าลุ่มน้ำโขงมีพันธกิจมากขึ้น ทำให้สำนักงานเดิมนั้นไม่สะดวกต่อการบริหารจัดการองค์กร อีกทั้งที่เดิมนั้นไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของมูลนิธิฯโดยตรง จึงได้จัดซื้อที่ดินประมาณ 3 ไร่กว่าเพื่อสร้างสำนักงานแห่งใหม่ ตั้งอยู่ที่บริเวณชุมชนห้วยปลากั้ง หมู่ที่ 3 ตำบลริมกก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายและเมื่อสร้างเสร็จก็ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่แห่งใหม่จนถึงปัจจุบัน

ภาพสำนักงานในอดีต

2

ภาพสำนักงานในปัจจุบัน

3
4
5

วิสัยทัศน์ขององค์กร


“ชุมชนชนเผ่าในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง มีความรักความผูกพัน
สามารถใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และพึ่งพาซึ่งกันและกันได้อย่างยั่งยืน”

พันธกิจขององค์กร


“พัฒนาชุมชนรอบด้าน โดยการเสริมศักยภาพผู้นำและองค์กรชุมชน
บนพื้นฐานความเชื่อและวัฒนธรรมชนเผ่า ผ่านกระบวนการเรียนอย่างมีส่วนร่วม”

ค่านิยมขององค์กร


เป็นองค์กรคริสเตียน

มูลนิธิฯเห็นคุณค่าของการพัฒนาคือ พันธกิจรับใช้พระเจ้าดั่งพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า “ซึ่งท่านได้กระทำแก่คนใดคนหนึ่งในพวกพี่น้องของเรานี้  ถึงแม้ต่ำต้อยเพียงไรก็เหมือนได้กระทำกับเราด้วย”

ความเป็นชนเผ่า

เป็นองค์กรชนเผ่าที่มีความห่วงใย ตระหนักถึงคุณค่าอันดีงามในวิถีชีวิตชนเผ่าและมีภารกิจหลักในการเสริมสร้าง และพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตชนเผ่าให้ดียิ่งขึ้น  ตามสถานการณ์แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างเหมาะสม

พัฒนาทรัพยากรมนุษย์

มูลนิธิให้ความสำคัญกับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ทั้งเจ้าหน้าที่  ผู้นำชนเผ่า  และชุมชนบนพื้นฐานศิลธรรมและจริยธรรมคริสเตียน

มีนิมิตร่วมกัน มีเป้าหมายที่ชัดเจน

เป็นองค์กรที่ตระหนักถึงความสำคัญของภาระใจที่มาจากการมีส่วนร่วมในนิมิต และเป้าหมาย    เป็นเจ้าของพันธกิจที่ร่วมกันกำหนดทิศทางการทำงานอย่างชัดเจน

มีความมั่นคงละยั่งยืน

ในการทำพันธกิจ  มูลนิธิให้ความสำคัญกับความต่อเนื่อง  เกิดผลในระยะยาว  และมีความมั่นคงยั่นยืน

ซื่อสัตย์ โปร่งใส ตรวจสอบได้

มูลนิธิฯได้ยึดมั้นในความซื่อสัตย์  จริงใจ โปร่งใส  สามารถตรวจสอบได้

การมีส่วนร่วม

มูลนิธิฯทำงานร่วมกับกลุ่มเกษตรกร  องค์กรคู่มิตรต่างๆ  กลุ่มหรือองค์กรคู่มิตรเหล่านั้นต้องมีผู้นำและงองค์กรที่เข้มแข็ง  พร้อมให้สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ  มีความเป็นเจ้าของ และสมาชิกกลุ่มหรือองค์กรคู่มิตรจะเป็นผู้ควบคุมการตัดสินใจ

ความเสมอภาคและการให้โอกาส

มูลนิธิฯมีความประสงค์จะทำงานกับผู้ด้อยโอกาสที่สุดในชุมชน  ฉะนั้นในการคัดเลือกการทำงานกับกลุ่มเป้าหมาย  จะไม่จำกัดเรื่องเพศ ศาสนา  สัญชาติ ใดๆ ทั้งสิ้น

ความรักความสัมพันธ์

มูลนิธิฯเป็นองค์กรคริสเตียนที่ทำงานบนพื้นฐานของความรัก  เราตระหนักถึงคุณค่าของความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและระหว่างองค์กร  เราเชื่อว่าความรักเป็นพื้นฐานสำคัญในการทำพันธกิจเพื่อนำคุณภาพชีวิตที่ดีสู่ชุมชน

สถาบันครอบครัว

มูลนิธิฯตระหนักว่าความสัมพันธ์ในครอบครัวเป็นปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนให้พันธกิจสำเร็จ และองค์กรบรรลุนิมิตได้  ฉะนั้นเราจึงมุ่งเน้นการสร้างความสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของครอบครัวทั้งระดับชุมชน และบุคลากรของมูนิธิชนเผ่าลุ่มน้ำโขง ภายใต้สโลแกน “ครอบครัวดี  ชุมชนดี สังคมดี”

โครงสร้างการบริหารงานขององค์กร